เอื้องผึ้ง

เอื้องผึ้ง

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

ลั่นทมแดง
ชื่อสามัญ West Indian Red
ชื่ออื่น ลีลาวดี จำปาแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Plumeria rubra Linn.
วงศ์ APOCYNACEAE
ถิ่นกำเนิด อเมริกาใต้ พบทุกภาคของไทย
ลักษณะพรรณไม้ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 2-6 เมตร เรือนยอดรูปไข่หรือรูปร่ม ทุกส่วนของลำต้นมีน้ำยางสีขาว กิ่งมีลักษณะอวบ สีเทาอมน้ำตาล แตกกิ่งก้านน้อย ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบป้อมสั้นกว่าลั่นทมขาว ปลายเป็นติ่งแหลม โคนใบสอบ ใบกว้าง 5-10 ซ.ม. ยาว 14-30 ซ.ม. ดอก ออกดอกเป็นช่อที่ยอด ก้านช่อดอกยาว 6-20 ซ.ม. ก้านดอกสีแดงเข้ม กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ดอกช่อสีชมพูอมแดง กลางดอกสีเหลืองขาว ปลายกลีบดอกแหลมหรือมีติ่งแหลมและโค้งงอ โคนกลีบดอกติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ กลีบดอกรูปไข่กลับและซ้อนทับกัน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางดอก 5-6 ซม. มีกลิ่นหอม เกสร 5 อันติดอยู่ภายในดอกผลเป็นฝักคู่ รูปยาวรี กว้าง 2-3 ซม. ยาว 10-12 ซม. เมล็ดมีจำนวนมากและมีขน ลักษณะแบน มีปีก
ฤดูดอกบาน ออกดอกตลอดปี (ออกดอกมากในช่วงฤดูหนาว)
ช่วงที่ดอกส่งกลิ่นหอม ส่งกลิ่นหอมแรงตลอดวัน
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เจริญเติบโตได้ดีในดินทีร่วนซุยและมีความชุ่มชื้นปานกลาง
การนำไปใช้ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด และปักชำ

วันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2555

ช้างกระ
ชื่อสามัญ -
ชื่ออื่น ช้างดำ เอื้องต๊กโต
ชื่อวิทยาศาสตร์ Rhynchostylis gigantean Ridl.
วงศ์ ORCHIDACEAE
ถิ่นกำเนิด แถบแหลมมลายู
ลักษณะพรรณไม้ เป็นกล้วยไม้เกาะอิงอาศัย มีรากอวบยาวขนาดใหญ่ รูปไข่รี มีข้อปล้องสั้นชัดเจน ใบเดี่ยวออกสลับซ้อนกัน รูปใบเหมือนลิ้น ขอบใบขนาน ปลายใบโค้งมน มีรอยหยักเข้าทำให้เกิดเป็นสองแฉกตื้น ๆ ใบกว้าง 5 ซ.ม. ยาว 30 ซ.ม. แผ่นใบหนาอวบน้ำ ฐานใบแนบหุ้มลำต้น ดอกออกเป็นช่อกรจะ แกนก้านดอกยาว 35 ซ.ม. ตาดอกงอกจากซอกใบ ดอกย่อยสีขาวกลีบดอกมีจุดแต้มสีม่วง ชมพู หรือแดง เกิดรอบแกนกลางช่อดอก กลีบดอก 6 กลีบ เรียงซ้อนกันชั้นละ3 กลีบ ดอกกว้าง 2-3 ซ.ม. มีก้อนละอองเรณู 1 คู่ ผล เป็นกระบุกแคปซูล ภายในแบ่งเป็น 2 ช่อง ตามแนวยาว เมล็ด จำนวนมาก และมีขนาดเล็กมาก
ฤดูดอกบาน เดือนธันวาคม-มีนาคม ดอกทยอยบานทั้งช่อ
ช่วงที่ดอกส่งกลิ่นหอม ส่งกลิ่นหอมแรงตลอดวัน
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ชอบความชื้นสูง แสงแดดครึ่งวัน
การนำไปใช้ประโยชน์ เป็นไม้ประดับ
การขยายพันธุ์ แยกกอ
กระดังงาไทย
ชื่อสามัญ Cananga
ชื่ออื่น กระดังงาใหญ่ (ภาคกลาง) สะบันงาต้น (ภาคเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cananga odorata (Lam.) Hook. f. & Thomson var. odorat
วงศ์ ANNONACEAE
ถิ่นกำเนิด มาเลเซีย อินโดนีเซีย หมู่เกาะแปซิฟิกเขตร้อน ภาคใต้ของไทย
ลักษณะพรรณไม้ เป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงกลาง เปลือกต้นสีเทาค่อนข้างฉ่ำน้ำและมีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว สูง 5-12 เมตร ลำต้นตรง กิ่งมักจะลู่ลง ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่แกมรูปขอบขนานหรือรูปรี กว้าง 4-6 ซม. ยาว 8-16 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือเว้าและเบี้ยวเล็กน้อย ขอบใบหยักเป็นคลื่นเล็กน้อย ออกดอกเป็นช่อสั้นแบบกระจุก มี 2-5 ดอก กลีบเลี้ยง 3 กลีบ สีเขียว กลีบดอกอ่อนนุ่ม 6 กลีบ สีเหลือง รูปขอบขนาน เรียงเป็น 2 วงๆ ละ 3 กลีบ ดอกกว้าง 0.5 ซม. ยาว 4-5 ซม. กลิ่นหอม เกสรเพศผู้จำนวนมาก ผลเป็นผลกลุ่ม รูปรีค่อนข้างกลม มีเมล็ดจำนวนมาก
ฤดูดอกบาน ออกดอกตลอดปี
ช่วงที่ดอกส่งกลิ่นหอม ส่งกลิ่นหอมอ่อนๆ ตอนเช้าและตอนเย็น
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ชอบที่โล่งแจ้ง
การนำไปใช้ประโยชน์ เป็นไม้ประดับดอกหอม ใช้ทำเครื่องหอม สกัดน้ำมันหอมระเหย (Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2539)
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง

มหาหงส์
ชื่อสามัญ Butterfly lily
ชื่ออื่น กระทายเหิน หางหงส์ เหินแก้ว เหินคำ สะเลเต
ชื่อวิทยาศาสตร์ Hedychium coronarium Roem.
วงศ์ ZINGIBERACEAE
ถิ่นกำเนิด เทือกเขาหิมาลัย
ลักษณะพรรณไม้ เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นใต้ดินเป็นเหง้า ลำต้นเหนือดินมีกาบใบโอบกันแน่นเรียกว่าลำต้นเทียม มีหลายลำอยู่รวมกันเป็นกอสูงประมาณ 80-150 ซ.ม. ใบเดี่ยว รูปขอบขนาน หรือรูปหอกแกมขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลมโคนใบแคบ ออกดอกที่ยอดเป็นช่อสั้น ดอกสีขาวล้วน กลีบดอก 3 กลีบ ยาว 4-5 ซ.ม.โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด เมื่อดอกบานเต็มที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8-10 ซ.ม. ผล รูปทรงกระบอกสีแดงอมส้มขนาดปลายนิ้วแตกเป็น 3 พู เมล็ด สีน้ำตาลแดง
ฤดูดอกบาน มิถุนายน - พฤศจิกายน
ช่วงที่ดอกส่งกลิ่นหอม ส่งกลิ่นหอมอ่อนๆ ตลอดวัน และหอมแรงในช่วงใกล้ค่ำ
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ชอบขึ้นในดินที่มีความชุ่มชื้นหรือชื้นแฉะ ต้องการร่มรำไร
การนำไปใช้ประโยชน์ เป็นไม้ประดับดอกหอม หัวใต้ดิน รักษาต่อมทอนซิลอักเสบ และแผลบวม
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด แยกเหง้าหรือแยกหน่อ

ดาหลา
ชื่อสามัญ Torch ginger
ชื่ออื่น กาหลา กะลา จินตะหรา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Etlingera elatior (Jack) R.M. Smith
วงศ์ ZINGIBERACEAE
ถิ่นกำเนิด เทือกเขาพูโต ในเขตจังหวัดนราธิวาส
ลักษณะพรรณไม้ เป็นไม้ล้มลุกตระกูลเดียวกับขิงและข่า แต่สูงใหญ่กว่า สูง 2.5-3 เมตร ลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน ลำต้นบนดินเป็นกาบ กาบใบยาวมากอัดซ้อนกันแน่นเป็นลำต้นเทียม ใบเดี่ยว รูปหอก ปลายใบแหลม กว้าง 10-15 ซ.ม. ยาว 25-30 ซ.ม. สีเขียวเข้ม ผิวเรียบเป็นมัน ดอกแทงช่อดอกออกจากเหง้าใต้ดิน ก้านสีเขียว สูง 50-120 ซ.ม. ดอกสีชมพูอมแดง มีกลีบซ้อนกันหลายชั้น ดอกมีจะงอยแหลม ด้านใต้ของกลีบสีขาว กลีบดอกเรียบเป็นมัน
ฤดูดอกบาน เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม
ช่วงที่ดอกส่งกลิ่นหอม -
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เจริญเติบโตได้ดีในที่ชื้น แสงแดดรำไร
การนำไปใช้ประโยชน์ ดอกตูมและหน่ออ่อน ใช้จิ้มกับน้ำพริก แกงเผ็ดและหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ผสมในข้าวยำ หรือใช้ยำดอกดาหลา มีรสชาติเผ็ดร้อน ทั้งต้น แก้ลมพิษ แก้โรคผิวหนัง อื่นๆ ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด และแยกเหง้าหรือแยกหน่อ

Collection of Fragrant Flowers.


Collection of Fragrant Flowers.