วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
ช้างน้าว
ชื่อสามัญ Chang nao
ชื่ออื่น ๆ กำลังช้างสาร (ภาคกลาง) ช้างน้าว (ภาคอีสาน) ช้างโหม (ระยอง)
ตาลเหลือง (ภาคเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ochna integerrima (Lour.) Merr.
วงศ์ OCHNACEAE
ถิ่นกำเนิด เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ลักษณะพรรณไม้ เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 12 ม. ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับหรือรูปใบหอกแกมรูปไข่กลับ ยาว 6-25 ซม. ปลายใบแหลมยาว แหลม หรือมน โคนใบแหลม มน หรือกลม ขอบใบจักฟันเลื่อย ก้านใบยาว 0.1-0.5 ซม. ดอกออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแยกแขนงสั้นๆ ยาวได้ประมาณ 4 ซม. ดอกจำนวนมาก ก้านดอกยาว 2-4 ซม. ฐานรองดอกสีแดงอมสีเขียว ขยายในผล กลีบเลี้ยง 4 กลีบ รูปไข่แกมรูปขอบขนาน ปลายมน ยาว 1-1.6 ซม. ขยายในผล กลีบดอกมี 5-7 กลีบ สีเหลือง รูปไข่กลับ ปลายมนหรือกลม ยาว 1.5-2.5 ซม. มีก้านกลีบ เกสรเพศผู้จำนวนมาก เรียง 2-3 วง ก้านเกสรเพศผู้ยาวไม่เท่ากัน ยาว 3-7 มม. ผลแบบผลเมล็ดเดียวแข็ง มี 3-10 ผล หรือ 15 ผล ติดบนฐานรองดอกใกล้โคน รูปรี ยาวได้ประมาณ 1 ซม. สีเขียวเป็นมันวาว สุกสีดำ กลีบเลี้ยงติดทนสีแดง ยาวประมาณ 2 ซม. พับงอกลับ
ฤดูดอกบาน เดือนมกราคม - พฤษภาคม
ช่วงที่ดอกส่งกลิ่นหอม ส่งกลิ่นหอมแรงตลอดวัน
สภาพแวดล้อมที่พืชต้องการ พบขึ้นตามป่าทั่วไป ชอบน้ำปานกลาง แสงแดดจัด ทนแล้ง
การนำไปใช้ประโยชน์ ดอกสีเหลืองสดใสปลูกเป็นไม้ประดับ ดอกมีกลิ่นหอม
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
ปิ่นมาลา
ลักษณะพรรณไม้ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ทุกส่วนของลำต้นมียางสีขาว ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม กว้าง 8-11 ซ.ม. ยาว 15-19 ซ.ม. รูปรี โคนใบรูปลิ่ม ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ขอบเป็นคลื่น ออกดอกเป็นช่อแบบกระจุก ดอกย่อยประกอบด้วยวงกลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปหอกปลายเรียวแหลมวงกลีบดอกปลายแยก 5 แฉก สีขาว ดอกกว้าง 1.5-1.8 ซ.ม. ยาว 4-7.5 ซ.ม. รูปขอบขนาน มีแต้มสีชมพูตรงกลาง หลอดวงกลีบยาว 2.5-3.7 ซ.ม. เกสรเพศผู้ 5 อัน อยู่บนวงกลีบดอกด้านใน เกสรเพศเมีย 1 อัน อยู่เหนือวงกลีบ ผล มีเมล็ดเดียว เนื้อแข็ง รูปรี กว้าง 1-2.3 ซ.ม. ยาว 2.5-4 ซ.ม. ผลแก่จัดสีม่วงคล้ำ
ฤดูดอกบาน เดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน
ช่วงที่ดอกส่งกลิ่นหอม ส่งกลิ่นหอมน้อยมากในช่วงเช้า
การนำไปใช้ประโยชน์ เป็นไม้ดอกไม้ประดับ
การขยายพันธุ์ การเพาะเมล็ด
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)